การพักตะเกียบ ระหว่างหยุดรับประทานอาหารชั่วขณะ
วันนี้ จะพาทุกคนไปรู้จักกับมารยาทบนโต๊ะอาหารของคนญี่ปุ่น การพักตะเกียบระหว่างหยุดรับประทานอาหารชั่วขณะ
มีข้อควรปฏิบัติอย่างไรบ้างไปดูกันเลยดีกว่า
1. วางตะเกียบบนที่วางพักตะเกียบ
2. ไม่ควรถือตะเกียบค้างไว้ในมือ
3. ไม่ควรวางให้ปลายตะเกียบสัมผัสกับโต๊ะอาหาร
4. ไม่ควรพักตะเกียบโดยวางพาดคร่อมบนภาชนะ เช่น ชามข้าว หรือถ้วยซุป หากร้านนั้นไม่มีที่วางพักตะเกียบ ให้ใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง คือ พับซองตะเกียบในลักษณะ มุซุบิ บุมิ (Musubi bumi) หรือ ยามะ โอริ (Yama ori) เพื่อเป็นที่วางพักตะเกียบ
Musubi bumi คือการพับกระดาษหรือจดหมายเป็นแผ่นเล็กๆ โดยใช้ปลายขอบกระดาษขัดไขว้ไว้กับส่วนที่พับตรงกลาง ซึ่งใช้เป็นจดหมายรัก หรือแทนการแสดงความเคารพ Yama ori คือการพับซองตะเกียบในแนวตั้งลงครึ่งหนึ่ง จากนั้นพับครึ่งหนึ่งในแนวนอน ทำเป็นรูปทรงภูเขา
5. วางตะเกียบบนโต๊ะ โดยให้ปลายตะเกียบพาดบนขอบจานแบ่งหรือจานเล็ก
6. วางตะเกียบบนถาดอาหาร โดยให้ปลายตะเกียบพาดบนขอบถาดอาหารทางด้านซ้าย
7. สำหรับตะเกียบ Rikyuu bashi ให้ใช้กระดาษที่รัดอยู่ตรงกลาง เป็นที่วางพักตะเกียบ
8. หากร้านนั้นมีทั้งที่วางพักตะเกียบ และซองตะเกียบ ให้วางซองตะเกียบไว้บนโต๊ะในบริเวณที่ไม่เกะกะ
รู้แบบนี้แล้วเวลาไปเที่ยวหรือได้ทานข้าวกับคนญี่ปุ่นก็อย่าลืมเอาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ไปใช้กันนะ