ติ๊กพาทำจี้ห้อยคอเก๋ๆ
ติ๊กยังพาเที่ยวกันต่อที่ จ.คาโกชิมะ (Kagoshima) ซึ่งเป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศญี่ปุ่น วันนี้ติ๊กจะพาขึ้นรถไฟไปเที่ยวกันค่ะ
ตามติ๊กไปขึ้นรถไฟที่สถานีคาโกชิมะ ชูโอ (Kagoshima Chou Station) กันนะค่ะ
ก่อนที่เราจะขึ้นรถไฟไปเที่ยวกัน ติ๊กขอแวะซื้อเบนโตะ ไปทานบนรถไฟ ระหว่างที่เราเดินทางกันหน่อยนะค่ะ
ติ๊กจะพาไปขึ้นรถไฟท้องถิ่น (Local Train) ของ จ.คาโกชิมะ เป็นรถไฟขบวนสีดำ ซึ่งจะพาเราท่องเที่ยวไปใน จ.คาโกชิมะ
เราไปขึ้นรถไฟสายฮายาโต โนะ คาเซะ (Hayato-No Kaze) เพื่อไปเที่ยวกันเลยค่ะ เราจะไปลงสถานีที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งบนภูมิภาคคิวชูแห่งนี้ค่ะ
รถไฟมาแล้ว เราไปขึ้นกันเลยค่ะ
รถไฟขบวนนี้ ติ๊กเคยพาขึ้นมาแล้ว คราวนี้ติ๊กขอนั่งหันหน้าไปที่หน้าต่าง เพื่อมองวิวทิวทัศน์ที่สวยงามของ จ.คาโกชิมะ กันบ้างนะค่ะ
ติ๊กซื้อเอกิเบน ซึ่งเป็นเซ็ทเบนโตะที่ทานบนรถไฟ มา 3 กล่องค่ะ เดี๋ยวเรามาดูกันนะค่ะ ว่า แต่ละกล่อง จะหน้าตาน่าทานขนาดไหน
เริ่มที่กล่องสีชมพูกล่องนี้เลยค่ะ เป็นเซ็ท No.1 ของภูมิภาคคิวชู ตกแต่งไว้น่าทานมากๆ เป็นกล่องเล็กๆ แต่อัดแน่นไปด้วยคุณภาพคับกล่องเลยทีเดียวค่ะ
กล่องที่ 2 เป็นเซ็ท No.1ของ จ.คาโกชิมะ เป็นคุโรบูตะหรือหมูดำที่ขึ้นชื่อของ จ.คาโกชิมะ เป็นข้าวกล่องคุโรบูตะย่างซอสโชยุเข้มข้นเขียวค่ะ
ส่วนกล่องที่ 3 เป็นรูปคุโรบูตะ ติ๊กเห็นกล่องน่ารักดีเลยซื้อมาค่ะ
เอกิเบนของติ๊กน่าทานไหมค่ะ ถ้ามาท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น อย่าลืมลองทานเบนโตะ ข้าวกล่องบนรถไฟกันนะค่ะ เพราะข้าวกล่องมีดีไซน์ที่น่ารัก แถมอร่อยอีกด้วยค่ะ
ติ๊กนั่งทานข้าวกล่องไปด้วย ชมวิวทิวทัศน์ด้านนอกไปด้วย เห็นอ่าวซัตสึมะ (Satsuma Bay) และภูเขาไฟซากุระจิมะ (Sakurajima) ด้วยค่ะ บอกเลยค่ะว่าฟินสุดๆ ค่ะ เราจะนั่งรถไฟ 50 นที เราก็จะถึงที่หมายปลายทางของเราค่ะ
ระหว่างที่เรานั่งรถไฟ เราก็อัพเดทข่าวสารข้อมูลต่างๆ เพราะเรามีพ็อคเก็ตไวไฟจากซามูไร พกติดตัวไว้ ทำให้เราอัพรูปได้ตลอดเวลา สะดวกสบายมากค่ะ
ถึงแล้วค่ะหนึ่งในสถานีเก่าแก่ที่สุดของภูมิภาคคิวชู สถานี Kareigawa
เป็นสถานีที่มีอายุ 114 ปี ทีเดียว ด้านในสถานีมีห้องเล็กๆ ซึ่งจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ รูปภาพเล็กๆ ที่เก็บเรื่องราวเกี่ยวกับสถานีนี้เอาไว้
ว่าผ่านมากี่ยุคกี่สมัย มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปแล้วบ้าง เหมือนเราดูซีรี่ย์ญี่ปุ่นโบราณเลยค่ะ ภาพของสถานีรถไฟเข้ามาในหัวเลยค่ะ
เรารู้เรื่องราวประวัติคร่าวๆ ของสถานี Kareigawa กันไปแล้ว เดี๋ยวเรานั่งรถไปทำแก้วกันที่ซัตสึมะ คิริโกะ (Satsuma Kiriko)
ติ๊กพามาที่โรงงานทำเครื่องแก้ว ดิชิมารุ (Deshimaru) เป็นโรงงานผลิตแก้วซัตสึมะ คิริโกะ
คิริโกะ (Kiriko) คือ การตัดแก้ว ที่ทำออกมาได้อย่างสวยงามละเอียดอ่อน
ซัตสึมะ คิริโกะ (Satsuma Kiriko) มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 การทำยากมาก จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูง การทำแก้วแต่ละชิ้นของที่นี่ จะให้คนทำขึ้นมาทีละใบเลยล่ะค่ะ พูดขนาดนี้ แล้วเห็นกันแล้วใช่ไหม ตามติ๊กเข้าไปในแกลอรี่กันเลยค่ะ
เราเข้ามาในแกลอรี่ เห็นแก้วใสๆ ลวดลายสวยงาม ระยิบระยับนี้เป็นแก้วสไตล์ของเมืองคิริชิมะ (Kirishima) นี่นั่นเองค่ะ แก้วสไตล์นี้จึงรียกว่า คิริชิมะ คิริโกะ (Kirishima Kiriko) เป็นแก้ว ที่ใช้แก้วล้วนๆ ในการทำ
มาดูสไตล์ของซัตสึมะ คิริโกะ กันบ้างค่ะ ซึ่งเป็นสไตล์ของภูมิภาคคิวชู แก้วจะมีสีสัน และใช้คริสตัลในการทำแก้ว
นอกจากจะเห็นถ้วยแก้ว สวยงาม หลากหลายสีสัน หลากหลายรูปแบบ ไม่เหมือนใครแล้ว ยังสามารถนำแก้วมาทำเป็นเครื่องประดับ ว่าจะเป็นจึ้ห้อยคอ
ต่างหู เข็มกลัด ได้อีกหลากหลายรูปแบบทีเดียวค่ะ
ติ๊กอยากเห็นแล้วล่ะค่ะ ว่าขั้นตอนการทำแก้วของที่นี่เค้าทำกันยังไง ถึงได้ออกมาสวยงามประณีตขนาดนี้ เราเข้าไปภายในโรงงานผลิตเลยดีกว่าค่ะ
เซนเซ ของติ๊ก ที่จะมาสอนติ๊กค่ะ เซนเซ อิชิอาโอกิ (Nishiaoki Susumu)
ขั้นตอนแรก ที่เราเห็นแก้วสีเหลืองแบบนี้ ข้างในเป็นแก้ว 2 ชั้น โดยมีการเชื่อมแก้ว แล้วใส่สีสันลงไป ด้านในเป็นแก้วใส ส่วนใหญ่จะใช้คริลตัลในการทำค่ะ
ขั้นตอนที่ 2 จะตัดปากแก้ว และก้นแก้วให้เรียบ ตามขนาดของแก้ว
ขั้นตอนที่ 3 เป็นการดีไซน์ วางลวดลาย โดบการตีช่องเป็นตารางต่างๆ เพื่อเป็นการแบ่งสเกลของถ้วยแก้ว ให้ได้ขนาดตามมาตรฐาน แล้วลาดลวดลายที่ต้องการแกะลงไป
ขั้นตอนที่ 4 เมื่อได้ลวดลายตามที่ต้องการแล้วจะนำแก้วไปขัด ให้ห้องขัด
เราไปดูวิธีการทำกันเลยค่ะ เซนเซกำลังเจียร์แก้ว ตามลวดลายที่วาดไว้บนถ้วยแก้วนั่นเองค่ะ เหมือนการเจียร์เครื่องประดับ พวกเพชรพลอยเลยค่ะ
แก้วของที่นี่มีราคาสูงเพราะ แก้วทุกใบใช้แรงงานฝีมือคนทำทุกขั้นตอนเลยค่ะ
เมื่อเจียร์แก้ว ได้ลายที่ต้องการแล้ว ก็นำแก้วไปขัดเกลาลบความคมออก
การขัดนี้ ต้องขัดกัน อีก 4 ขั้นตอนเลยล่ะค่ะ เครื่องขัดแต่ละขั้นตอนก็แตกต่างกันด้วยค่ะ
เมื่อขัดครบทั้ง 4 ขั้นตอนแล้ว จะนำแก้วมาล้างให้แป้งที่ใช้ขัดหลุดออก แล้วเช็ดทความสะอาดให้สวยงาม
เดี๋ยวติ๊กไปทำจี้ห้อยคอ สัก 1 อัน
เพื่อเป็นที่ระลึกสักหน่อยค่ะ
เดี๋ยวทำเสร็จแล้ว ติ๊กจะพาไปชิมราเมงอันดับหนึ่งของ จ.คาโกชิมะ กันต่อเลยค่ะ
ติ๊กพามาชิมราเมงอันดับหนึ่งของ จ.คาโกชิมะ ที่ร้านโกโรย่า
ร้านโกโร่ย่า (Goroya) อยู่ในเขต ยามาดาโจ เป็นร้านที่ชนะการประกวดราเมงอันดับหนึ่งของ จ.คาโกชิมะ
อยากชิมราเมงอันดับหนึ่งแล้ว เข้าไปในร้านกันเลยค่ะ แค่หน้าประตูร้านก็ได้กลิ่นหอมโชยมาแล้วค่ะ อยากชิมแล้วค่ะ ว่าจะอร่อยสมกับได้แชมป์มาหรือเปล่า
เข้ามาในร้านเห็นถ้วยรางวัล อัยดับหนึ่งตั้งอยู่ เพื่อเป็นการการันตีถึงความอร่อยตั้งอยู่เลยค่ะ
ราเมงของร้านนี้จะมี 3 แบบ
โอนากิมิ (Onagimi) เป็นราเมงปกติทั่วๆ ไป
คาราเนกิ (Karanegi) เป็นราเมงในซอสเผ็ด และมีเนกิ หรือต้นหอม ที่เผ็ดๆ
อูมามิโซะ (Umamiso) เป็นราเมงน้ำซุปมิโซะ
ติ๊กสั่งราเมงอันดับหนึ่งมาทานค่ะ ในวันนี้ มาแล้วราเมงของติ๊ก เจ้าของร้าน Mr.Takedo Kensuke มาเสริฟเองเลยค่ะ
หน้าตาน่ารับประทานมากเลยค่ะ กลิ่นหอมมาก มีชาชูหรือหมูแผ่นใหญ่ มีชาชูแบบสับ
และมีหอมเจียว กะหล่ำปลี ลองชิมน้ำซุปก่อนเลย น้ำซุป หอมหวานอร่อยเข้มข้นทีเดียวค่ะ
ติ๊กจะชิมแบบไม่ปรุงนะค่ะ เพราะติ๊กอยากรู้ว่ารสชาติแบบอันดับหนึ่งจะเป็นยังไง และอร่อยยังไง
เส้นเหนียวนุ่มกำลังดี ไม่เละเกินไป ลวกเส้นสุกกำลังพอดี การลวกเส้นราเมงของญี่ปุ่นนี้ เค้าจะจับเวลาในการลวก เพราะฉะนั้นในทุกๆ ชาม เส้นจะได้มาตรฐานทุกๆ ชามเลยล่ะค่ะ
ร้านนี้จะใว่หอมเจียวลงไปด้วย ทำให้น้ำซุปเพิ่มความหอมยิ่งขึ้น บางร้านจะใส่แต่น้ำมันหอมเจียว แต่ของที่นี่ใส่หอมเจียวลงไปเลยค่ะ
ตัวชาชูหรือหมูแผ่น จะนำหมูไปหมักให้มีรสชาติแล้วนำไปย่าง เพิ่มความหอม จึงทำให้เนื้อหมูมีรสชาตเข้มข้นไม่จืดค่ะ
ตัวเส้นราเมงเมื่อสัมผัสกับน้ำซุป เส้นจะมีความเค็มความหวานอยู่ด้วยทำให้เส้นไม่จืด อร่อยทีเดียว สมแล้วกับที่ได้อันดับหนึ่งค่ะ
มาเที่ยว จ.คาโกชิมะ แล้วลองแวะมาชิมราเมงอันดับหนึ่งที่ร้านโกโรย่า แล้วจะรู้ว่าราเมงอันดับหนึ่งของ จ.คาโกชิมะ จะอร่อยขนาดไหน ลองมาชิมกันนะค่ะ
เดี๋ยวคราวหน้าติ๊กจะพาทำอะไร หรือไปชิมอะไรกันอีก มาติดตามกันนะค่ะ